สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 18-24 มกราคม 2559

ข่าวสัปดาห์ วันที่ 25 - 31 ม.ค. 2558

ไหม

     ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,648 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
     ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,263 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,275 บาทของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.94
     ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,000 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน

25 - 31 มกราคม 2559

 

ยางพารา

1. สรุปภาวการณ์ผลิต การตลาดและราคาภายในประเทศ

     ราคายางปรับตัวเพิ่มขึ้น จากปัจจัยบวก ได้แก่ มาตรการรับซื้อยางของรัฐบาลจำนวน 100,000 ตัน ในราคานำตลาดกิโลกรัมละ 45บาท ที่เริ่มโครงการในวันที่ 25 มกราคม 2559 ประกอบกับอุปทานยางที่ออก
สู่ตลาดลดลง เนื่องจากภาคใต้มีฝนตกหนักในจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส รวมทั้งในหลายพื้นที่สภาพอากาศมีความแปรปรวน ยางอาจเข้าสู่ฤดูผลัดใบเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบ ได้แก่ ตลาดจีนเริ่มหยุดในเทศกาลตรุษจีน ทำให้มีผู้ซื้อน้อยลงและเสนอซื้อในราคาต่ำ ราคาน้ำมันมีทิศทางเพิ่มขึ้น รวมทั้งการแข็งค่าของเงินบาท

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ 
     1. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.16 บาท เพิ่มขึ้นจาก 35.65 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 2.51 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.04 
     2. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 2 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.66 บาท เพิ่มขึ้นจาก 35.15 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 2.51 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.14
     3. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.16 บาท เพิ่มขึ้นจาก 34.65 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 2.51 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.24
     4. ยางก้อนคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.74 บาท เพิ่มขึ้นจาก 17.68 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.06 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.00 
     5. เศษยางคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.09 บาท เพิ่มขึ้นจาก 14.87 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.22 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.20
     6. น้ำยางสดคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.97 บาท เพิ่มขึ้นจาก 31.02 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 2.95 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.51
     ในสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 4, ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 5 และยางแผ่นดิบคละ

ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. ซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนกุมภาพันธ์ 2559

ณ ท่าเรือกรุงเทพ 
     1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.19 บาท ลดลงจาก 47.89 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.70 บาท หรือลดลงร้อยละ 1.46
     2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.04 บาท ลดลงจาก 46.74 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.70 บาท หรือลดลงร้อยละ 1.50
     3. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.44 บาท เพิ่มขึ้นจาก 28.99 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.45 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.55

ท่าเรือสงขลา 
     1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.94 บาท ลดลงจาก 47.64 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.70 บาท หรือลดลงร้อยละ 1.47
     2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.79 บาท ลดลงจาก 46.49 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.70 บาท หรือลดลงร้อยละ 1.51 
     3. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.19 บาท เพิ่มขึ้นจาก 28.74 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.45 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.57

2. สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในตลาดต่างประเทศ

     ราคายางพาราซื้อขายล่วงหน้า ณ ตลาดล่วงหน้าสิงคโปร์และตลาดล่วงหน้าโตเกียวปรับตัวอยู่ในกรอบแคบๆ โดยมีปัจจัยบวก เรื่องนักลงทุนตอบรับนโยบายของของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) และธนาคารกลางยุโรป (ECB) ส่งสัญญาณผ่อนคลายนโยบายทางการเงินเพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในเดือนมีนาคม 2559 รวมถึงนักลงทุนคาดการณวาธนาคารกลางจีน (PBOC) จะออกมาตรการกระตุนเศรษฐกิจ หลังจาก GDP ปี 2558 มีการขยายตัวต่ำสุดในรอบ 25 ปี และการที่รัฐบาลไทยซื้อยางจำนวน 100,000 ตัน อย่างไรก็ตาม ปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบ ได้แก่ ซาอุดิอาระเบียได้เสนอให้ผู้ผลิตน้ำมันทั่วโลกกำลังการผลิต ร้อยละ 5.0 เพื่อแก้ไขปัญหาราคาน้ำมันตกต่ำ โดยรัสเซียลดได้กำลังการผลิตลงแล้ว 500,000 บาร์เรลต่อวัน และค่าเงินเยนมีแนวโน้มแข็งค่า
ยางแผ่นรมควันชั้น 3
 
     ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 125.20 เซนต์สหรัฐฯ (44.64 บาท) ลดลงจาก 127.18 เซนต์สหรัฐฯ (45.79 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 1.98 เซนต์สหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.56
     ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดโตเกียว เฉลี่ยกิโลกรัมละ 150.13 เยน (44.94 บาท) เพิ่มขึ้นจาก 148.82 เยน (45.39 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 1.31 เยน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.88

25 - 31 ม.ค. 2558
สุกร

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ  
     สัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณสุกรออกสู่ตลาดสอดรับและใกล้เคียงกับต้องการบริโภค แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
     สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 65.01 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 65.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.02 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 65.24 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 62.29 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 66.62 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 60.34 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 2,000 บาท (บวกลบ 67 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ  
     ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
 
ไก่เนื้อ
 

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
     สถานการณ์ตลาดไก่เนื้อ สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพอากาศที่เย็นเอื้ออำนวยให้ไก่เนื้อเจริญเติบโตได้ดี ทำให้ผลผลิตไก่เนื้อออกสู่ตลาดมาก แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
     ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัม 37.56 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 37.90 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.90 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 38.41 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 37.02 บาท ภาคใต้กิโลกรัมละ 41.06 บาท และภาคเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 10.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
     ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 53.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

     สัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา แม้ว่าในช่วงนี้สภาพอากาศที่เย็นลงจะเอื้ออำนวยให้ผลผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง แต่เนื่องจากความต้องการบริโภคไข่ไก่ที่มี มากขึ้น ส่งผลให้ราคาโน้มสูงขึ้น คาดว่าราคาจะสูงขึ้นเล็กน้อย  
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ 
     ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 278 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 276 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.72 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 293 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 283 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 270 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 291 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 23.00 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 21.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 9.52
าคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ 
     ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 301บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

 
ไข่เป็ด

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ 
     ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 332 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 332 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 337 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 322 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 337 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ 
     ราคาขายส่งไข่เป็ดในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 380 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

 
โคเนื้อ
  

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
     ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 106.65 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 106.60 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.05 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัม 109.80 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 104.86 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 100.66บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 115.71 บาท

กระบือ

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
     ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 83.15 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 83.10 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.06 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 91.59 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 81.52 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา

ข่าวรายสัปดาห์ 25-31 มกราคม 2559

ถั่วเหลือง
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
     ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
     ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 16.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
     ราคาขายส่งกากถั่วเหลืองใน สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 18.35 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ 

 

ราคาในตลาดต่างประเท(ตลาดชิคาโก)
     ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 879.20 เซนต์ (11.66 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 878.05 เซนต์ (11.75 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.13
     ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 271.60 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.80 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 270.45 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.85 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.43
     ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 30.68 เซนต์ (24.40 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 30.87 เซนต์ (24.10 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.62

หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 3 วัน


ตารางราคาเกษตรกรขายได้ ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ และราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี